ลูกอายุ 3 เดือน ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ

ทำไมลูกถึงร้องไห้? ทำไมลูกร้องไม่หยุดสักที? ลูกร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ? หรืออีกหลายๆ ปัญหากับการที่ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุและหลายครั้งคำตอบก็เป็นเหมือนปริศนาให้ต้องค้นหาเพื่อแก้ปัญหาให้ลูกน้อยได้ถูกจุด บางครั้งใช้เวลาน้อย บางครั้งใช้เวลาเยอะ แตกต่างกันไปเพราะในวัยทารกเป็นช่วงวัยที่ลูกๆ ยังสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้มากนักและยังพูดไม่เป็นคำอย่างที่เรียกว่ายังไม่รู้ภาษา ดังนั้นเมื่อลูกทำท่าทางต่างๆ หรือแสดงออกในแบบต่างๆ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องสังเกตให้ดีว่าลูกกำลังรู้สึกอย่างไร เป็นอะไร หรือต้องการอะไร เพื่อจะได้ดูแลและช่วยเหลือลูกรักได้ แต่ก็มีหลายครั้งที่ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ ร้องงอแงแบบไม่รู้สาเหตุทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลและไม่รู้ว่าลูกกำลังเป็นอะไร ต้องการอะไรหรือมีสิ่งผิดปกติตรงไหน

ซึ่งการร้องไห้ของทารกแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไปคุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจถึงลักษณะการร้องไห้ด้วย เพราะอาจมีอาการป่วยที่ยังหาสาเหตุไม่พบหรือสิ่งผิดปกติอื่นซ่อนอยู่ โดยเฉพาะภาวะโคลิค

.

อาการโคลิคคืออะไร?

โคลิคเป็นอาการที่ลูกร้องไห้ไม่หยุดโดยไม่มีสาเหตุ โดยมากมักเป็นช่วงเย็นๆ จนถึงดึกๆ เสียงร้องของลูกจะร้องกวนอย่างต่อเนื่อง ทำอย่างไรก็ไม่หยุดร้อง เป็นอาการที่ทารกร้องไห้โดยสาเหตุไม่ได้มาจากการหิว หรือง่วงนอน โดยเราสามารถสังเกตได้ว่าลูกมีอาการโคลิคหรือไม่โดยจากอาการเหล่านี้

1. ร้องงอแงนานกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน

2. มีอาการแบบข้อแรกมานานกว่า 3 วันต่อสัปดาห์

ซึ่งในทางการแพทย์ปัจจุบันได้ขยายการวินิจฉัยให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยระบุถึงอาการโคลิคว่าเป็นการที่ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ ร้องงอแงเป็นระยะเวลานานและกลับมาร้องไห้ซ้ำโดยไม่มีสาเหตุทางกายอื่นร่วมด้วย เช่น การป่วย หิวนม เป็นต้น

.

คุณพ่อคุณแม่บางท่านหลายครั้งคิดว่าอาการโคลิคนี้อาจจะหายไปได้เองตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ หรือความเชื่อในการรักษาอาการโคลิคอย่างการใช้ยาสมุนไพรและนวดท้องให้ลูกก็อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ และในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจเคยได้รับคำแนะนำว่าอาการเหล่านี้จะหายได้เอง โดยไม่ได้ตระหนักถึงผลเสียของอาการโคลิคในระยะยาวก็มีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่เข้าใจผิดและการถูกมองข้ามเหล่านี้ทำให้ภาวะโคลิคมีผลกระทบระยะยาวกับลูก ไม่ว่าจะเป็น โรคภูมิแพ้, ปัญหาทางพัฒนาการ, อาการปวดท้องได้ง่ายในตอนโตและการมีพฤติกรรมก้าวร้าว จนไปถึงเรื่องปัญหาการนอนหลับของลูก

นอกจากส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในระยะยาวแล้ว ผลกระทบในระยะสั้นของอาการโคลิค คือ ยังทำให้ลูกหยุดนมแม่เร็วเกินไป ยิ่งไปกว่านั้นอาการโคลิคยังสามารถสร้างภาวะความเครียดภายในครอบครัวได้อีกด้วย

ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโคลิค แต่อาจเกิดจากปัจจัยทางกายภาพ เช่น แพ้โปรตีนในนมวัว, ระบบย่อยอาหารผิดปกติหรือ จุลินทรีย์ในระบบย่อยอาหารไม่สมดุล เป็นต้น

อาการโคลิคสามารถหายเองได้หรือไม่?

แม้ว่าอาการโคลิคจะหายได้เองเมื่อเด็กมีอายุ 8-14 สัปดาห์ แต่กว่าอาการจะหายไป การที่ลูกร้องไห้ไม่หยุดอาจก่อให้เกิดผลเสียทั้งระยะสั้นและระยะยาวมากกว่าที่คิด ซึ่งวิธีการรักษาในปัจจุบันก็มีหลากหลายวิธีที่คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกให้เหมาะสมกับลูกน้อย แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบกุมารแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำและรับการรักษาอย่างถูกต้อง

.

ภาวะโคลิครักษาได้ ไม่ต้องกังวล!

ในส่วนของการรักษาอาการโคลิค จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า มี 2 วิธีหลักด้วยกัน

1. ใช้ยาในการรักษา การใช้ยาในการรักษาโคลิคคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อยาหรือสมุนไพรมาใช้เอง แต่ควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและรับยาสำหรับการรักษาภาวะโคลิคโดยเฉพาะ

2. ไม่ใช้ยาในการรักษา วิธีการรักษาโคลิคโดยไม่ใช้ยามีหลากหลายวิธี เช่น การเปลี่ยนนมสำหรับทารกเป็นสูตรย่อยง่าย หรือใช้โพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะในการปรับสมดุลภายในลำไส้และท้องของทารก

.

แต่การเปลี่ยนสูตรนมสำหรับทารก อาจเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่ จากคำแนะนำของแพทย์ได้บอกไว้ว่า ในช่วงแรกทารกควรรับประทานนมแม่ให้ได้นานที่สุด และการที่ทารกทานนมผงหรือปรับเปลี่ยนสูตรนมผงนั้นเป็นเรื่องที่ไม่แนะนำ เพราะอาจทำให้ทารกปฏิเสธการดื่มนมแม่และนมสูตรใหม่ที่คุณแม่เปลี่ยนได้ ดังนั้นการใช้ไพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะจึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและนิยมใช้ในการบรรเทาอาการโคลิคมากกว่า

จากการศึกษาในทารกที่มีภาวะโคลิคพบว่า การให้โพรไบโอติค แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี โพรเทคทิส สามารถลดระยะเวลาการร้องไห้งอแงได้ดีกว่าการใช้ยาขับลมไซเมทิโคน และ 95% ของทารกที่ได้รับโพรไบโอติคสายพันธุ์นี้มีอาการดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาขับลมไซเมทิโคนมีเพียง 7% เท่านั้นที่ตอบสนองต่อยา²

แม้ว่าการดูแลและการรับมือกับลูกน้อยที่มีอาการโคลิคนั้นอาจจะไม่ง่ายอย่างที่คิด โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจต้องทำการบ้านหนักสักหน่อย และคำนึงอยู่เสมอว่าอาการโคลิคไม่ใช่ความผิดของใคร ถือเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทารกทุกคน เพราะ 1 ใน 5 ของทารกจะเกิดภาวะโคลิคได้ ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจของตัวเองให้ดี ถ้าหากเหนื่อยมาก ๆ ควรหาคนมาช่วยดูแล หรืออาจจะเป็นคนในครอบครัวช่วยดูแลสลับกัน

การร้องไห้กับเด็กเป็นของคู่กัน แม้ว่าจะเป็นภาวะโคลิค คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องเข้าใจว่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ แน่นอนว่าความรู้สึกไม่สบายใจ หรือหงุดหงิดใจเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ต้องจัดการอารมณ์ให้ได้ ไม่วิตกกังวลมากเกินไป และขอย้ำอีกครั้งเพื่อความสบายใจของคุณพ่อคุณแม่ว่าอาการโคลิคเป็นอาการที่หายได้ หากยังไม่สบายใจก็สามารถไปขอคำปรึกษาจากกุมารแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาอีกทางหนึ่งได้ด้วยเช่นกัน

.

บทความจาก > ไทยรัฐ

#คลินิกเด็กหมอนุจรินทร์หาดใหญ่
#เด็กเลี้ยงง่ายสบายท้องสมองดี
#คลินิกเด็กดีเติบโตสมวัย #ใส่ใจลูกน้อยด้วยใจ
#อบอุ่นเมื่อได้คุยกัน #คลินิกหมออ้อใจดีมีคำตอบ
#ลูกน้อยห่างไกลภูมิแพ้ #เด็กเติบโตสมวัยพัฒนาการดี 
#ดูแลลูกน้อยด้วยหัวใจ #หมออ้อใจดีคุยด้วยแล้วสบายใจ
#วัคซีนมือเบาเพื่อลูกน้อย #คลินิกเด็กที่ดูแลทั้งครอบครัว

#อบอุ่นเมื่อได้คุยกัน
#ใส่ใจลูกน้อยด้วยใจ
#ดูแลลูกน้อยด้วยหัวใจ
#ลูกน้อยห่างไกลภูมิแพ้
#คลินิกเด็กดีเติบโตสมวัย
#วัคซีนมือเบาเพื่อลูกน้อย
#คลินิกหมออ้อใจดีมีคำตอบ
#เด็กเติบโตสมวัยพัฒนาการดี
#คลินิกเด็กที่ดูแลทั้งครอบครัว
#เด็กเลี้ยงง่ายสบายท้องสมองดี
#หมออ้อใจดีคุยด้วยแล้วสบายใจ
#คลินิกเด็กหมอนุจรินทร์หาดใหญ่

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง