ทำไมต้องฉีดมะเร็งปากมดลูกในเด็กตั้งแต่อายุ 9 ขวบ

การฉีดวัคซีน hpv ให้ได้ผลดี คือการฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ และอยู่ในช่วงวัยที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนี้ได้ดี เชื้อไวรัส HPV นับว่าเป็นเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมีรายงานว่า ในปี ค.ศ. 2003 – 2006 ผู้หญิงสหรัฐฯ มีการติดเชื้อ HPV ที่อวัยวะเพศมากกว่า 1 สายพันธุ์ถึง 21.6% ก่อนที่ในปี ค.ศ. 2008 จะมีรายงานจาก Sexually Transmitted Diseases ว่ามีผู้ติดเชื้อ HPV ที่อวัยเพศ แบ่งเป็นผู้หญิงกว่า 39.9 ล้านคน และผู้ชายอีกกว่า 39.2 ล้านคน นี่จึงเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นที่ทำให้… หลายคนตระหนักถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV

.

วัคซีน HPV ฉีดแล้ว…ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้มากแค่ไหน

เชื้อไวรัส HPV ที่ก่อให้เกิดโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักนั้นมีอยู่นับ 40 สายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์ที่เป็นต้นเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกที่พบมากถึง 70% คือสายพันธุ์ 16 และ 18 จึงได้มีการผลิตวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ แต่…ก็ยังมีสายพันธุ์อื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ 33, 35, 39, 40, 43, 45, 51-56, 58 เพราะฉะนั้น วัคซีน HPV จึงไม่สามารถป้องกันเชื้อ HPV บางสายพันธุ์ได้ อีกกรณีที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพของวัคซีนอาจไม่ได้ผลดีที่สุด คือกรณีที่หญิงสาวเคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ทำให้มีโอกาสว่าอาจเคยสัมผัสกับเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่เป็นต้นเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกมาก่อนที่จะฉีดวัคซีน แต่ก็ยังถือว่ามีประโยชน์ในการป้องกันการรับเชื้อเดิมซ้ำๆ เพิ่มเติม

.

แล้วการฉีดวัคซีน HPV ควรฉีดตอนไหนดีที่สุด

ด้วยปัจจัยข้างต้น ทำให้ปัจจุบันมีการส่งเสริมการฉีดวัคซีน HPV ตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ และจากงานวิจัยที่พบว่า เด็กช่วงอายุ 9-15 ปีนั้น การฉีดวัคซีนเพียง 2 เข็ม…ก็ได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าการฉีด 3 เข็มในผู้ใหญ่ เนื่องจากร่างกายของเด็กช่วงวัยนี้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนี้ได้ดี ในหลายๆ ประเทศรวมทั้งในไทย จึงได้มีการรณรงค์ให้เริ่มฉีดวัคซีน HPV ตั้งแต่อายุ 9 ปี เพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพจากวัคซีนสูงสุด ส่วนเด็กผู้ชายควรฉีดในช่วงอายุ 9-26 ปี โดยฉีดวัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ เพื่อช่วยป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนัก (พบว่าโอกาสเสี่ยงมะเร็งทวารหนักในเพศชายมากพอๆ กับมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิงเลยทีเดียว)

.

ป้องกันได้ดีกว่า! หากตรวจคัดกรองร่วมด้วย

นอกจากการป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยการฉีดวัคซีน HPV แล้ว เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด…ควรทำร่วมกับการตรวจคัดกรองเป็นประจำ โดยวิธีการตรวจมีทั้งหมด 3 วิธี คือ

⦿ การตรวจ Pap smear เป็นการใช้ไม้พายเล็กๆ เก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกเพื่อนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ ซึ่งการตรวจมะเร็งปากมดลูกวิธีนี้จะมีความแม่นยำประมาณ 50%

⦿ การตรวจ ThinPrep เป็นการใช้อุปกรณ์เฉพาะในการเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูก ก่อนใส่ลงในขวดน้ำยาตินเพร็พเพื่อนำส่งห้องปฏิบัติการต่อไป ซึ่งวิธีนี้จะมีความแม่นยำประมาณ 90-95%

⦿ การตรวจ ThinPrep + HPV DNA Test วิธีนี้เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสูงที่สุด เพราะเป็นการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกร่วมกับการตรวจดีเอ็นเอของเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูก ซึ่งหากตรวจแล้วไม่พบว่ามีการติดเชื้อ ก็สามารถมั่นใจได้ถึง 99% เลยทีเดียว

.

บทความกจาก >> paolohospital

#คลินิกเด็กหมอนุจรินทร์หาดใหญ่
#เด็กเลี้ยงง่ายสบายท้องสมองดี
#คลินิกเด็กดีเติบโตสมวัย #ใส่ใจลูกน้อยด้วยใจ
#อบอุ่นเมื่อได้คุยกัน #คลินิกหมออ้อใจดีมีคำตอบ
#ลูกน้อยห่างไกลภูมิแพ้ #เด็กเติบโตสมวัยพัฒนาการดี 
#ดูแลลูกน้อยด้วยหัวใจ #หมออ้อใจดีคุยด้วยแล้วสบายใจ
#วัคซีนมือเบาเพื่อลูกน้อย #คลินิกเด็กที่ดูแลทั้งครอบครัว

#อบอุ่นเมื่อได้คุยกัน
#ใส่ใจลูกน้อยด้วยใจ
#ดูแลลูกน้อยด้วยหัวใจ
#ลูกน้อยห่างไกลภูมิแพ้
#คลินิกเด็กดีเติบโตสมวัย
#วัคซีนมือเบาเพื่อลูกน้อย
#คลินิกหมออ้อใจดีมีคำตอบ
#เด็กเติบโตสมวัยพัฒนาการดี
#คลินิกเด็กที่ดูแลทั้งครอบครัว
#เด็กเลี้ยงง่ายสบายท้องสมองดี
#หมออ้อใจดีคุยด้วยแล้วสบายใจ
#คลินิกเด็กหมอนุจรินทร์หาดใหญ่

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง