อาการแหวะนม สำรองนม เป็นอาการปกติของเด็กทารกที่พบได้บ่อยถึง 70% ในช่วงแรกเกิดถึง 3 เดือน แล้วจะค่อยๆ ดีขึ้นหลังอายุ 4 เดือน เป็นต้นไปสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารยังทำงานได้ไม่ดี เมื่อทารกกินนมมากเกินกว่ากระเพาะจะรับได้ (Over Feeding) จึงเกิดอาการไหลย้อน (GERD) แม้ว่าอาการแหวะนมจะไม่ร้ายแรง แต่ก็อาจเป็นอันตรายกับเด็กได้ ถ้าลูกสำรอกหรือแหวะนมบ่อยเกินไปการที่คุณแม่รู้จักสังเกตอาการของลูกและรู้เทคนิคการป้องกัน ไม่ให้เกิดการแหวะนมสำรอกนมหรืออ้วกหลังกินนม จะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกัน “กรดไหลย้อน” ในเด็กทารกได้
.
เทคนิคลดอาการ “แหวะนม สำรอกนม” ในเด็กทารกแรกเกิดถึง 4 เดือน
1. พยายามอย่าให้ลูกกินนมมากเกินไป ความหิวจะทำให้ลูกกินนมมากเกินไปและรีบกินนมเร็วกว่าปกติ ฉะนั้น พยายามอย่าปล่อยให้ลูกหิวจัด
2. จับลูกเรอเป็นระยะๆ หลังดูดนม
3. ถ้าลูกดูดนมจากขวดขวดต้องไม่ใหญ่เกินไป คุณแม่ต้องมั่นใจว่าขวดนมไม่ใหญ่เกินไป (มีลมจากขวดเข้าไปในกระเพาะ) ขนาดของจุกนมไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป (ติดไหลเร็ว-ดูดลมเข้าไปแทนนม) วิธีแก้ลูกแหวะนมสำหรับการกินนมขวด คือ ให้ลูกกินนมทีละครึ่ง แล้วจับเรอ ก่อนดูดต่ออีกครึ่ง
4. ถ้าลูกกินนมจากเต้าให้จับลูกเรอ ก่อนที่จะเปลี่ยนข้างหรือเปลี่ยนเต้า
5. จับนอนหัวสูง หลังจากลูกกินนมเสร็จหรือว่ากินนมอิ่มแล้ว คุณแม่ควรจัดท่านอนให้ลูก ให้ลูกนอนหัวสูง หัวตั้งตรงประมาณ 30-45 องศา และตะแคงไปทางซ้าย (เพราะกระเพาะอาหารอยู่ทางด้านซ้าย) ประมาณ 30 นาที จะทำให้มีแรงโน้มถ่วงไปกดที่กระเพาะอาหาร นมไม่ไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของการอ้วกหรือแหวะนมของทารก
.
แม้ว่าอาการแหวะนม สำรอกนม จะเป็นเรื่องปกติของเด็กทารกวัยแรกเกิด และสามารถหายได้เอง แต่ถ้าแหวะนมบ่อยเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหา “กรดไหลย้อน” ได้ ฉะนั้น การสังเกตอาการและลองหาวิธีป้องกัน ลูกก็จะแหวะนมน้อยลง หรือหากลองแล้วอาการแหวะนมของลูกยังไม่ดีขึ้น หรือพบว่าลูกมีอาการแหวะนมที่ไม่ปกติตามขั้นต้นที่ได้กล่าวมา แนะนำให้คุณแม่พาลูกไปพบแพทย์ เพื่อดูอาการและหาวิธีรักษาที่เหมาะสมต่อไป
.
หากเด็กแหวะนมแล้วน้ำหนักขึ้นดี ดูดนมต่อได้ไม่งอแงถือว่าปกตินะคะ
บทความบางส่วนจาก >> HAPPY MOM.LIFE