7 เทคนิคช่วยให้ลูกไม่อมข้าว

เด็กอมข้าวพบในวัยปฐมวัย (พบมากเมื่อลูกอายุ 1-3 ขวบ) มักจะชอบอมข้าวเอาไว้ในปากนานๆ นั้น มีหลายสาเหตุ แต่โดยมากมักเกิดจากการที่ลูกมักจะห่วงเล่น หรือยังติดกับการดูดอาหาร หรือไม่ได้รับการฝึกการเคี้ยวอย่างถูกต้อง รวมถึงบางครั้งลูกก็มัวแต่สนใจสิ่งรอบตัว (ทั้งของเล่น โทรทัศน์ เสียงรอบข้างต่างๆ ฯลฯ) ทำให้เด็กไม่สนใจในการกินอาหาร เมื่อพ่อแม่ป้อนอาหาร เด็กก็ยังไม่ละความสนใจจากสิ่งต่างๆ จึงอมข้าวไว้ในปากก่อนนั้นเอง

.

7 ขั้นตอนง่ายๆ แก้ไขลูกอมข้าวไว้ในปาก

1. ฝึกให้ลูกกินอาหารเป็นเวลา

พ่อแม่ควรให้ลูกกินอาหารตรงเวลาตามมื้ออาหารปกติ (เช้า กลางวัน เย็น) โดยเมื่อถึงมื้ออาหาร พ่อแม่ควรจะนั่งกินอาหารพร้อมกับลูกบนโต๊ะอาหารด้วย อย่าปล่อยให้ลูกนั่งกินกับพี่เลี้ยง หรือนั่งกินหน้าโทรทัศน์ ไม่ป้อนนานเป็นชั่วโมงจนเป็นเรื่องปกตินะคะ

.

2. กะปริมาณให้อาหารพอเหมาะ

การตักข้าวให้ลูก หรือส่วนผสมของอาหารควรตัดเป็นชิ้นพอดีคำ เพื่อให้ลูกเคี้ยวได้ง่าย และปริมาณของอาหาร ควรให้แต่น้อย เมื่อลูกกินหมดค่อยเพิ่มทีละนิด โดยเมื่อลูกกินข้าวในจานหมดก็อย่าลืมชมเชยลูกด้วยนะคะ

.

3. สร้างบรรยากาศให้สนุก

เด็กในวัยนี้อยากจะตักอาหารกินด้วยตัวเอง พ่อแม่ควรจะปล่อยให้ลูกได้ทำเอง แม้ว่าจะหกเลอะเทอะไปบ้าง แต่ลูกจะมีความสุข หากลูกตักอาหารไม่ได้ พ่อแม่ควรช่วยเสริมบ้างบางครั้ง เช่น ตักอาหารใส่ช้อนให้ลูก แต่ให้ลูกถือช้อนและยกเข้าปากเอง แต่ทั้งนี้หากลูกพยายามจะตักอาหารใส่ช้อนเอง พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้หัดทำเองบ้างไม่ดุหรือทำหน้าหรือขึ้นเสียงดังนะคะ

.

4. หลีกเลี่ยงสิ่งเร้า

การเปิดโทรทัศน์ การให้เล่นมือถือ การวางของเล่นให้ลูกเห็น เป็นสิ่งเร้าที่เบี่ยงเบนความสนใจของการกินอาหารของลูก ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าเหล่านี้

.

5. อย่าให้เด็กกินขนมหรือนมจนอิ่มก่อนมื้ออาหาร

พ่อแม่หลายคนอยากให้ลูกตัวสูง เลยให้ลูกดื่มนมเยอะๆ แต่กลายเป็นว่าพอลูกดื่มนมไปเยอะ เวลาถึงมื้ออาหารก็จะไม่รู้สึกหิว เมื่อไม่หิวก็ไม่อยากกิน คราวนี้ล่ะจะโดนพ่อแม่บังคับให้กิน ลูกเลยอมข้าวเอาไว้ เพราะไม่อยากเคี้ยวไม่อยากกลืนอาหาร พวกขนมขบเคี้ยวต่างๆ ก็เช่นกัน กระเพาะอาหารของลูกในช่วงปฐมวัยนั้นจะมีขนาดเล็ก ดังนั้นพ่อแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกกินขนมหรือดื่มนมในช่วงระหว่างมื้ออาหารมากเกินไป

.

6. อย่าให้ลูกกินอาหารหลังจากเล่นเสร็จทันที

บ่อยครั้งที่ลูกมักจะเล่น จนเหนื่อย แล้วเมื่อถึงเวลาพ่อแม่ก็เรียกให้หยุดเล่นแล้วมานั่งกินข้าว ซึ่งร่างกายของเด็กยังเหนื่อยอยู่ ยังไม่พร้อมที่จะกินอาหาร พ่อแม่ควรสังเกตและบอกให้ลูกหยุดเล่นก่อนมื้ออาหารจะเริ่มอย่างน้อย 10 นาที เพื่อให้ร่างกายได้พักรวมถึงดึงความสนใจของลูกให้ห่างจากของเล่น อาจจะพาลูกไปเดินเล่นหน้าบ้าน เดินดูต้นไม้ หรือนั่งพูดคุยกันก่อน สักพักจึงค่อยพาลูกไปนั่งที่โต๊ะอาหาร

.

7. ทำอาหารให้หลากหลายมีสีสันและจินตนาการ

เช่น ไข่เจียวหยดซอสมะเขือเทศเป็นรูปหน้าคนยิ้ม ข้าวคว่ำลงจานเป็นรูปดอกไม้หรือหัวใจ เอาผักไปทอดกรอบๆ เพื่อให้เขาหยิบจับได้เอง เป็นต้น

.

บทความบางส่วนจาก >> hd สุขภาพดี เริ่มต้นที่นี้

#คลินิกเด็กหมอนุจรินทร์หาดใหญ่
#เด็กเลี้ยงง่ายสบายท้องสมองดี
#คลินิกเด็กดีเติบโตสมวัย #ใส่ใจลูกน้อยด้วยใจ
#อบอุ่นเมื่อได้คุยกัน #คลินิกหมออ้อใจดีมีคำตอบ
#ลูกน้อยห่างไกลภูมิแพ้ #เด็กเติบโตสมวัยพัฒนาการดี 
#ดูแลลูกน้อยด้วยหัวใจ #หมออ้อใจดีคุยด้วยแล้วสบายใจ
#วัคซีนมือเบาเพื่อลูกน้อย #คลินิกเด็กที่ดูแลทั้งครอบครัว

#อบอุ่นเมื่อได้คุยกัน
#ใส่ใจลูกน้อยด้วยใจ
#ดูแลลูกน้อยด้วยหัวใจ
#ลูกน้อยห่างไกลภูมิแพ้
#คลินิกเด็กดีเติบโตสมวัย
#วัคซีนมือเบาเพื่อลูกน้อย
#คลินิกหมออ้อใจดีมีคำตอบ
#เด็กเติบโตสมวัยพัฒนาการดี
#คลินิกเด็กที่ดูแลทั้งครอบครัว
#เด็กเลี้ยงง่ายสบายท้องสมองดี
#หมออ้อใจดีคุยด้วยแล้วสบายใจ
#คลินิกเด็กหมอนุจรินทร์หาดใหญ่

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง