โรค ลมพิษในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ โรคลมพิษของลูก หากคุณพ่อคุณแม่มีลูกที่ผิวหนังแพ้ง่าย ลมพิษ ใน เด็ก อาจทำให้เกิดลมพิษแบบเฉียบพลัน สิ่งสำคัญควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดลมพิษ มาดู 6 สาเหตุหลักกระตุ้นให้เกิดโรคลมพิษ ลมพิษในเด็ก ว่ามีอะไรบ้าง
.
โรคลมพิษ ลมพิษ ในเด็ก เป็นลมพิษตอนกลางคืน คืออะไร
รศ.นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคลมพิษ สรุปได้ดังนี้
1. ลมพิษ (urticaria) เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยร้อยละ 10 – 15 ของประชากร จะเคยเป็นผื่นลมพิษอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต
2. ผื่นลมพิษเกิดจากปฏิกิริยาที่สารฮีสตามีน ออกมามีฤทธิ์ต่อผิวหนังทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และมีของเหลวรั่วซึมออกมานอกหลอดเลือด ทำให้เกิดการบวมน้ำของชั้นผิวหนังและใต้ผิวหนัง มองเห็นเป็นลักษณะผื่น เป็นวงๆ ขอบกลมบ้างหยักบ้าง ใหญ่บ้างเล็กบ้าง เป็นปื้นนูนแดง และมีอาการคันมาก
3. อาการลมพิษมักเกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว และมีอาการบวมของหนังตา ปาก แก้ม ใบหู หนังศีรษะ หรือผิวหนังบวมเป็นตุ่มนูนๆ ร่วมด้วย
4. ผื่นลมพิษแต่ละจุดมักหายได้เองภายใน 2–3 ชั่วโมง หรือมักอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง แล้วย้ายที่เกิดผื่นใหม่
.
โรคลมพิษของลูก ลมพิษในเด็ก สาเหตุของโรคลมพิษที่ควรระวัง
1. ลมพิษในเด็ก ลมพิษจากแสงแดด เวลาที่เจ้าหนูออกไวิ่งเล่นท่ามกลางแสงแดด หากลูกของคุณแพ้แสงแดด สามารถเกิดอาการลมพิษได้ทันที โดยมีผื่นลมพิษขึ้นนอกร่มผ้า แค่โดนแสงแดดเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดลมพิษได้ ความเข้มข้นของแสงก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะยิ่งโดนแดดแรงลมพิษก็จะยิ่งขึ้นตามไปด้วย
2. ลมพิษจากอาหาร พบมากในเด็กเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากลูกของคุณพ่อคุณแม่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น หวัดภูมิแพ้ หืด ลมพิษ ผื่นคัน หรือตัวคุณพ่อคุณแม่เอง เป็นโรคแพ้อาหาร ซึ่งโรคแพ้อาหารมักเกิดจากการแพ้สารโปรตีนในอาหาร ส่วนใหญ่ได้แก่ นมวัว ไข่ ปลา กุ้ง หอย ปู ข้าวสาลี ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดอัลมอลด์ อาการลมพิษผื่นคันจะลดลงเมื่ออายุประมาณ 1 ขวบ และมักจะหายดีเมื่ออายุประมาณ 10 ขวบ
3. ลมพิษจากยา ความจริงแล้วยาทุกชนิดมีโอกาสที่จะทำให้เกิดโรคลมพิษได้ทั้งนั้น ดังนั้น การให้เด็กทานยา ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง ยาที่อาจก่อให้เกิดโรคลมพิษ ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาลดไข้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมียาบางชนิดที่อาจจะนึกไม่ถึงว่าเป็นสาเหตุของลมพิษได้ คือ ยาวิตามิน ยาถ่าย ยาระบาย ยาหยอดหู ยาหยอดตา เป็นต้น สิ่งสำคัญไม่ควรซื้อยามามารับประทานเอง ควรพาลูกไปพบคุณหมอจะดีที่สุด
4. ลมพิษจากการแพ้เหงื่อ สำหรับเด็กๆ อาจจะไปวิ่งเล่นซุกซน เมื่อเหงื่อออกจึงเกิดลมพิษขึ้นมาเฉียบพลัน ลมพิษชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น และมีเหงื่อออก มักพบหลังจากการออกกำลังกายหรือแม้แต่การอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นก็สามารถเป็นได้เช่นกัน
5. ลมพิษจากอากาศ
⦿ ลมพิษจากการแพ้อากาศเย็น โรคลมพิษชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังสัมผัสกับน้ำแข็งหรืออากาศที่หนาวเย็น ขณะอาบน้ำหรือว่ายน้ำในน้ำเย็น ผิวหนังจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพราะอาจส่งผลให้ผิวหนังไร้ความรู้สึกได้
⦿ ลมพิษจากการแพ้แดด ลมพิษชนิดนี้เกิดในบริเวณที่ได้รับแสงแดดโดยตรง
6. ลมพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย สาเหตุของลมพิษชนิดนี้มักจะพบในเด็กๆ ได้บ่อย เพราะบางทีไปวิ่งเล่นตามพุ่มไม้ หรือสถานที่มีมดแมลงต่างๆ เมื่อแมลงกัดมันจะปล่อยสารพิษเข้าผิวหนังเด็กบางคนจะมีอาการแพ้ตั้งแต่แพ้อย่างอ่อน คือ มีอาการคัน บวมและแดง เด็กบางคนอาจจะเกิดภูมิแพ้หลังจากถูกกัดหลายวัน มีอาการปวดข้อ คัน สำหรับบางคนมีอาการรุนแรงอาจจะมีอาการบวมของทั้งแขนหรือขา อาการบวมเป็นมากหลังถูกกัดไปแล้ว 48 ชม. และผื่นอาจจะอยู่ได้ 7-10 วัน
.
สาเหตุโรคลมพิษ
1. ลมพิษชนิดฉับพลัน คือ โรคลมพิษที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางคนอาจมีอาการรุนแรง ลมพิษชนิดนี้หายไปภายใน 6 สัปดาห์
2. ลมพิษชนิดเรื้อรัง คือ โรคลมพิษที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปไม่รุนแรง ผื่นจะขึ้นๆ ยุบๆ เป็นอยู่นานเกิน 6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่หาสาเหตุไม่ได้จึงมีอาการผื่นลมพิษเป็นๆ หายๆ นานเป็นเดือนหรือเป็นปี
.
รักษาลมพิษในเด็กได้อย่างไร
1. ลมพิษเกิดจากหลายสาเหตุ จึงมีความจำเป็นต้องหาสาเหตุด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง เช่น ถ้าแพ้อาหาร ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แพ้ ถ้าเป็นจากโรคร้ายต่างๆ ก็ต้องทำการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุด้วย
2. การรักษาลมพิษ แนะนำให้ใช้ยาต้านฮีสตามีน ซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึม และเหมาะกับลมพิษเฉียบพลัน
3. ในกรณีลมพิษเรื้อรัง ต้องใช้ยาต้านฮีสตามีนเป็นระยะเวลานาน และควรเลือกใช้ยาที่ไม่ง่วง สำหรับยา สเตียรอยด์และยากดภูมิคุ้มกัน เป็นยาที่มีผลข้างเคียงมาก ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในทุกราย และมักใช้ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อยาต่างๆ
4. สำหรับกรณีที่มีอาการรุนแรง ควรพิจารณาปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม ทั้งขนาดและระยะเวลาในการใช้ยา
.
วิธีป้องกันโรคลมพิษ ลมพิษในเด็ก ทำอย่างไร?
โรคลมพิษไม่มีวิธีการป้องกัน แต่สิ่งที่ดีที่สุด คือ ปฏิบัติตนในการหลีกเลี่ยงลมพิษโดยตรง โดยเฉพาะเด็กๆ ที่เกิดลมพิษได้ง่าย ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจกระตุ้นอาการคัน หากเป็นไปได้คุณพ่อคุณแม่ควรจดจำชื่อของยาและบันทึกรายการอาหารที่ลูกรับประทานแล้วเกิดอาการแพ้ไว้ในกรณีฉุกเฉิน
.
บทความจาก >> theAsianparent